Floodway
จับตาภาษาไทยฉบับนี้มาแบบลูกครึ่ง
ไม่ใช่ครึ่งผีครึ่งคนนะคะ..เป็นครึ่งไทยครึ่งฝรั่งค่ะ... ว่ากันด้วยเรื่องภาษาน้ำท่วมที่เป็นคำทับศัพท์กันบ้าง เป็นหนึ่งในความเปลี่ยนแปลงของภาษา
เมื่อเรามีวิทยาการใหม่ๆ นวัตกรรมใหม่ๆ สิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ภาษาใหม่ๆก็ตามมา
..ภาษาใหม่ๆนี้อาจมาในรูปแบบคำทับศัพท์ หรือศัพท์บัญญัติ ก็ได้
วันนี้คุยเรื่องคำทับศัพท์ก่อนนะคะ
คำแรกคือคำว่า
Floodway ความจริงคำนี้ก็ไม่ใหม่นัก เพราะเป็นคำที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวถึงมาตั้งแต่ปี
๒๕๓๘ floodway ก็คือ ทางน้ำผ่าน อันเนื่องมาจากพระวิสัยทัศน์ สายพระเนตรยาวไกลที่เคยทรงทำนายทายทักไว้ว่า
น้ำจะท่วมใหญ่ เราจะต้องหาทางแก้ไข
ไม่ใช่ป้องกัน แต่แนวพระราชดำริคือเราต้องอยู่กับภาวะน้ำท่วมให้ได้ โดยการสร้างเส้นทางระบายน้ำเพิ่มเติม
(Flood
Way) โดย Flood Way นี้
อาจสร้างในพื้นที่ทางการเกษตรในพื้นที่ลุ่ม เหมือนกับเส้นทางมอเตอร์เวย์ โดยในช่วงฤดูแล้งสามารถเปิดเป็นถนนให้รถวิ่งสัญจรไปมาได้ แต่ฤดูฝนจะปิดถนนให้เป็นช่องระบายน้ำ
เคียงคู่มากับคำว่า
Floodway คือคำว่า Green
Belt กรีนเบลท์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแปลว่า แนวสีเขียว
เป็นพื้นที่สำหรับปล่อยให้น้ำไหลผ่านจากที่สูงลงที่ต่ำเพื่อให้น้ำไหลไปในทิศทางที่ต้องการให้ไป เช่นเดียวกับ Flood
Way
ที่มาของคำ Floodway
และ Green
Belt นายปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน เล่าว่า
คำว่า ฟลัดเวย์ ที่รับสั่งเมื่อปี 2538 เป็นการรับสั่งครั้งที่
3 ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2523 รับ
สั่งเช่นกัน แต่ตอนนั้นทรงใช้คำว่า "กรีนเบลท์" หมายถึง ทางสีเขียวยาวๆ
แบบเข็มขัด คือพื้นที่ทำนาที่ไม่มีบ้านเรือนประชาชนอาศัยอยู่
ใช้เป็นทางน้ำผ่านยามน้ำหลาก เมื่อปี 2533 น้ำก็ท่วมอีก
ยังรับสั่งถามถึงกรีนเบลท์ว่า กรีนเบลท์ยังอยู่ดีหรือเปล่า
พอต่อมาปี 2538 ก็ทรงเปลี่ยนจากกรีนเบลท์มาเป็นฟลัดเวย์
คำทับศัพท์คำที่ ๓
ที่อยากนำเสนอก็คือคำว่า Big Bag บิ๊กแบ็ก หรือ กระสอบทรายยักษ์
ถุงยักษ์ขนาด
1
เมตร ยาว 1 เมตร สูงเมตรครึ่ง หนัก 1 ตัน หรือ 1,000
กิโลกรัม บรรจุด้วย ทราย หินคลุก และหินกรวดถุงเล็กๆ ถุงที่นำมาใช้เป็น Big Bag
นั้น เป็นถุงที่ออกแบบใช้บรรจุแป้งมัน Big Bag นำมาใช้สร้างทำนบกั้นน้ำ
เพื่อปิดกั้นและเปลี่ยนทิศทางมวลน้ำ
คำทับศัพท์คำที่ ๔ คือ em
ball อีเอ็มบอล คือก้อนจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
ซึ่งมีส่วนผสมของรำ ดินทราย แกลบป่น และ EM แล้วนำมาปั้นให้เป็นลูกกลมๆ
ผึ่งแดดให้แห้ง ๓ วัน
แล้วนำไปทิ้งลงในพื้นที่น้ำท่วมเพื่อลดความเน่าเสียของน้ำในแหล่ง ที่พักอาศัย เพื่อไม่ให้เกิดกลิ่นเน่าเหม็นและก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพตามมา
เป็นโครงการของสำนักงานทูตความดีแห่งประเทศไทย ค่ะ
พบกันใหม่ฉบับหน้านะคะ..สวัสดีค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น