คอมพ์วางตัก
หนังสือพิมพ์คม
ชัด ลึก ฉบับวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔
ลงข่าวความเคลื่อนไหวในวงการภาษาไทย โดย ศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคสกุล
ราชบัณฑิตยสถานและนายกสมาคมครูภาษาไทย กล่าวว่า ราชบัณฑิตได้บัญญัติคำศัพท์ใหม่ของคำว่า แล็ปท็อป
( laptop
computer )
ว่า คอมพ์วางตัก หรือ คอมพิวเตอร์วางตัก ผู้เขียนเองมีความเข้าใจไขว้เขวในคำว่า แล็ปท็อป
และ แท็บเล็ต คิดว่า แล็ปท็อป คือ
แท็บเล็ต แท้จริงไมใช่ค่ะ..สอบถามจากกูรู
( ครูพิสุทธิศักดิ์ หนูเมืองธำรง )
ได้ความว่า แล็ปท็อป คือ โน้ตบุ๊ค เรานี่เอง..แหม
!
เกือบปล่อยไก่เสียแล้ว
ประเด็นจับตาภาษาไทยวันนี้คือ
การสร้างคำภาษาไทยขึ้นมาใช้แทนคำภาษาต่างประเทศดังกล่าว เรียกว่า การบัญญัติศัพท์ และคำที่เกิดขึ้นจากการบัญญัตินั้น
เราเรียกว่า ศัพท์บัญญัติค่ะ ศัพท์บัญญัติ
คือ คำสร้างใหม่เพื่อใช้แทนคำภาษาต่างประเทศที่เกี่ยวกับวิทยาการต่างๆ ใหม่ๆ
ที่หลั่งไหลเข้ามาไม่ขาดสาย
หน้าที่ในการบัญญัติศัพท์ใหม่เพื่อใช้ในภาษาไทยอย่างถูกต้องตามแบบแผนของภาษาเป็นหน้าที่ของราชบัณฑิตยสถาน
ซึ่งประกอบด้วยนักปราชญ์ราชบัณฑิตทางภาษา
คำศัพท์ที่บัญญัติโดยนักปราชญ์ราชบัณฑิตแล้วประกาศอย่างเป็นทางการ
ถือว่าเป็นคำภาษาไทยที่ถูกต้องตามแบบแผน หรืออีกนัยหนึ่งคือคำที่ถูกต้องตามกฎหมายของภาษา
คำใดที่ไม่ได้บัญญัติโดยราชบัณฑิตยสถานถือเป็นคำสร้างใหม่ที่ใช้กันเอง
ไม่เป็นภาษาแบบแผน ซึ่งบางทีกว่าราชบัณฑิตยสถานจะบัญญัติศัพท์ใหม่ได้
คำที่สร้างอย่างสนุกๆเหล่านั้นก็ใช้กันจนแพร่หลายไปแล้ว เคยมีความเข้าใจผิดตลกๆ
เรื่องคำศัพท์บัญญัติทางคอมพิวเตอร์มาสมัยหนึ่ง
ว่า ศัพท์คำว่า ฮาร์ดแวร์ ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติว่า
กระด้างภัณฑ์ ซอฟท์แวร์
คือ ละมุนภัณฑ์ และ จอยสติ๊ก คือ แท่งหรรษา
จนคนนำศัพท์เหล่านี้ไปล้อเลียนกันอย่างสนุกสนาน
ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว ราชบัณฑิตยสถาน บัญญัติคำว่า ฮาร์ดแวร์ คือ ส่วนเครื่อง หรือ ส่วนอุปกรณ์ ส่วน ซอฟท์แวร์ คือ ส่วนชุดคำสั่ง
และ จอยสติ๊ก .ใช้ว่า ก้านควบคุม จากนั้นก็เกิดคำที่สร้างล้อเลียนเพิ่มเติมอีก เช่น กูเกิลพลัส (Google+) คือ อสงไขยสนธิ ทวิตเตอร์ (TWITTER)
คือ สำเนียงสกุณา
ไฮไฟว์ (HI 5) คือ เบญจสวัสดี เฟซบุ๊ก (Facebook)
คือ พักตร์ปกรณ์
มายสเปซ (MySpace) คือ
ปริภูมิอัตตโน ยูทูบ (YouTube) คือ ท่านท่อ ย้ำ..คำเหล่านี้ไม่ได้บัญญัติโดยราชบัณฑิตเลย
น่าจะนับเป็นคำคะนอง (ที่ไมใช่ คำสแลง)
ก็ได้ คือคำที่เกิดจากความคะนอง คะนองที่จะคิด คะนองที่จะลองใช้ ถือเป็นจุดอ่อนทางภาษาไหม ผู้เขียนมองว่ามันคือความเคลื่อนไหวทางภาษาที่น่าจับตามองมากกว่าค่ะ
อย่างน้อยก็นับว่าคนคิดศัพท์เป็นคนมีวงศัพท์ภาษาไทยสูงไม่เบา
ฉบับหน้าจะแนะนำศัพท์บัญญัติทางคอมพิวเตอร์ที่ถูกแบบแผนนะคะ
จับตาภาษาไทยฉบับนี้จะหนักไปไหมคะ...ต้องขออภัยผู้อ่านด้วย..ฉบับนี้ครูนุชจับผู้อ่านมานั่งเรียนภาษาไทยม.๖
เสียแล้ว อยากให้นักเรียน ม.ปลายได้อ่านคอลัมน์นี้จัง เพราะครูนุชพูดถึงเนื้อหาภาษาไทยในระดับ ม.๖
เลยนะเนี่ย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น